วันอาทิตย์, มีนาคม 30, 2557

ตำแหน่งการเกิดเสียง

ฐานกรณ์ ในทางสัทศาสตร์ เป็นตำแหน่งกำเนิดเสียงพยัญชนะ คือตำแหน่งในช่องเสียง (vocal tract) ที่เกิดการกีดขวาง จากการเคลื่อนตำแหน่งของ กรณ์ (โดยปกติคือ ส่วนของลิ้น) และ ฐาน (ปกติคือ ส่วนของผนังในปาก) โดยเมื่อรวมกับ ลักษณะการออกเสียง (manner of articulation) และ การเปล่งเสียงพูด (phonation) ทำให้เกิดเสียงพยัญชนะที่แตกต่างกัน

ชนิดของการออกเสียง

ฐานกรณ์นั้นแยกออกเป็นการออกเสียงแบบ ฐาน และ กรณ์ ตัวอย่างเช่น

  • ริมฝีปากล่างเป็นกรณ์ (ส่วนเคลื่อนที่) อาจเคลื่อนไปสัมผัส ริมฝีปากบนซึ่งเป็นฐาน (ส่วนไม่เคลื่อนที่) เป็นการออกเสียงจากริมฝีปากคู่ (bilabial) เช่น เสียง [m])
  • ริมฝีปากล่างเป็นกรณ์ (ส่วนเคลื่อนที่) อาจเคลื่อนไปสัมผัสกับ ฟันบน(ฐาน) เป็น เสียงจากริมฝีปากล่าง-ฟันบน (labiodental) เช่น เสียง [f])
  • การสัมผัสเพดานแข็งด้วยส่วนหน้า และ ส่วนหลัง ของลิ้น โดยหากใช้ส่วนหน้าสัมผัส เรียก เสียงปลายลิ้นม้วน (retroflex)
  • หากส่วนหลังลิ้นสัมผัส เรียก เสียงจากหลังลิ้น-เพดานแข็ง (dorsal-palatal) หรือ โดยทั่วไปเรียกเพียง ตาลุชะ/เสียงจากเพดานแข็ง (palatal)



    ตำแหน่งเกิดเสียง (ฐาน และ กรณ์)

  1. ริมฝีปาก ด้านนอก(Exo-labial)
  2. ริมฝีปาก ด้านใน (Endo-labial)
  3. ฟัน (Dental)
  4. ปุ่มเหงือก (Alveolar)
  5. หลังปุ่มเหงือก (Post-alveolar)
  6. หน้าเพดานแข็ง (Pre-palatal)
  7. เพดานแข็ง (Palatal)
  8. เพดานอ่อน (Velar)
  9. ลิ้นไก่ (Uvular)
  10. ช่องคอ (Pharyngeal)
  11. เส้นเสียง (Glottal)
  12. ลิ้นปิดกล่องเสียง (Epiglottal)
  13. โคนลิ้นในช่องคอ (Radical)
  14. ผนังลิ้นส่วนหลัง (Postero-dorsal)
  15. ผนังลิ้นส่วนหน้า (Antero-dorsal)
  16. ปลายลิ้น (Laminal)
  17. ปลายสุดลิ้น (Apical)
  18. ใต้ปลายสุดลิ้น (Sub-apical)
    เสียงแบบกรณ์มีทั้งหมด 5 เสียง คือ
  1. เสียงพยัญชนะริมฝีปาก (labial consonant) เป็นเสียงจากริมฝีปาก หรือ โอษฐชะ
  2. เสียงพยัญชนะโพรงปาก (coronal consonant) เป็นเสียงจากการใช้ส่วนปลายอ่อนตัวของลิ้น
  3. เสียงพยัญชนะหลังลิ้น (dorsal consonant) เป็นเสียงจากการใช้ส่วนกลาง หรือ ส่วนหลังของลิ้น
  4. เสียงพยัญชนะโคนลิ้น (radical consonant) เป็นเสียงจากการใช้โคนลิ้น และ ลิ้นปิดกล่องเสียง (epiglottis)
  5. เสียงพยัญชนะเส้นเสียง (laryngeal consonants) เป็นเสียงจากกล่องเสียง (larynx)

การออกเสียงเหล่านี้สามารถเปล่งแยกจากกัน หรือ สามารถออกเป็นเสียงผสม เรียก การออกเสียงผสม (coarticulation)

การออกเสียงแบบฐาน เป็นการออกเสียงที่ไม่มีการแบ่งแยกชัดเจน โดยตำแหน่งการออกเสียง เสียงจากลิ้น-ริมฝีปากบน (linguolabial) และ เสียงลิ้นระหว่างฟัน (interdental), เสียงจากลิ้นระหว่างฟัน และ เสียงจากฟัน/ทันตชะ (dental), เสียงจากฟัน และ เสียงจากปุ่มเหงือก (alveolar), เสียงจากปุ่มเหงือก และ เสียงจากเพดานแข็ง/ตาลุชะ (palatal), เสียงจากเพดานแข็ง และ เสียงจากเพดานอ่อน (velar), เสียงจากเพดานอ่อน และ เสียงจากลิ้นไก่ (uvular) อาจเชื่อมโยงเหลื่อมกัน และ การออกเสียงพยัญชนะอาจมีการออกเสียงในตำแหน่งก้ำกึ่ง

นอกจากนั้นแล้ว ในการใช้ลิ้นออกเสียง ส่วนที่ใช้สัมผัสอาจเป็นส่วน ผิวบนของลิ้น (blade) ที่ใช้ในการสัมผัส (เสียงพยัญชนะใช้ปลายลิ้น - en:laminal consonant) ,ส่วนยอดของปลายลิ้น (เสียงพยัญชนะใช้ปลายสุดลิ้น- apical consonant), หรือ ผิวใต้ลิ้น (เสียงพยัญชนะใช้ใต้ปลายสุดลิ้น - sub-apical consonant) ซึ่งเสียงเหล่านี้ก็อาจผสมผสานก้ำกึ่งไม่ได้แบ่งแยกชัดเจน

เสียงพยัญชนะที่มีตำแหน่งออกเสียงเหมือนกัน เรียกว่ามี ฐานกรณ์ร่วม เช่น เสียงจากปุ่มเหงือกในภาษาอังกฤษ ดังเสียงของอักษณต่อไปนี้ n, t, d, s, z, l เป็นต้น

ตารางการออกเสียงและฐานกรณ์

ลักษณะการออกเสียง ฐานกรณ์
โอษฐชะ/เสียงจากริมฝีปาก (Labial) เสียงจากริมฝีปากคู่ (Bilabial)
เสียงจากริมฝีปากล่าง-ฟันบน (Labiodental)
ส่วนโพรงช่องปาก (Coronal) เสียงใช้ปลายลิ้น (Laminal) เสียงจากลิ้น-ริมฝีปากบน (Linguolabial)
เสียงลิ้นระหว่างฟัน (Interdental)
เสียงใช้ปลายลิ้น-ฟัน (Laminal dental)
เสียงใช้ปลายลิ้น-ฟัน-ปุ่มเหงือก (Laminal denti-alveolar)
เสียงใช้ปลายลิ้น-ปุ่มเหงือก (Laminal alveolar)
เสียงใช้ปลายลิ้น-หลังปุ่มเหงือก (Laminal postalveolar)
("เสียงปลายลิ้นม้วน" (retroflex) #1)
เสียงโก่งลิ้น (Domed)
(โก่งกลางลิ้นโค้งขึ้นเป็นทรงกลม
สัมผัสเพดานแข็งบางส่วน)
เสียงโก่งลิ้น-หลังปุ่มเหงือก (Domed postalveolar)
("เสียงจากลิ้น-หลังปุ่มเหงือก" (palato-alveolar))
เสียงใช้เพดานแข็ง (Palatalized) เสียงจากเพดานแข็ง-หลังปุ่มเหงือก (Palatalized postalveolar)
("เสียงจากปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง" (alveolo-palatal))
เสียงใช้ปลายสุดลิ้น (Apical) เสียงจากปลายสุดลิ้น-ฟัน (Apical dental)
เสียงจากปลายสุดลิ้น-ปุ่มเหงือก (Apical alveolar)
เสียงจากปลายสุดลิ้น-หลังปุ่มเหงือก (Apical postalveolar)
("เสียงปลายลิ้นม้วน" (retroflex) #2)
เสียงใช้ใต้ปลายสุดลิ้น (Sub-apical) เสียงจากใต้ปลายสุดลิ้น-(หน้า)เพดานแข็ง (Sub-apical (pre)palatal)
("เสียงปลายลิ้นม้วน" (retroflex) #3)
หลังลิ้น(Dorsal) หน้าเพดานแข็ง (Prepalatal)
เสียงจากเพดานแข็ง/ตาลุชะ (Palatal)
เสียงจากหน้าเพดานอ่อน (Prevelar or medio-palatal)
เสียงจากเพดานอ่อน (Velar)
เสียงจากหลังเพดานอ่อน (Postvelar)
เสียงจากลิ้นไก่ (Uvular)
โคนลิ้นในช่องคอ (Radical) เสียงจากช่องคอส่วนบน (Upper pharyngeal)
เสียงจากช่องคอส่วนล่าง (Lower pharyngeal)
เสียงพยัญชนะจากลิ้นปิดกล่องเสียง-ช่องคอ ( Epiglotto-pharyngeal)
เสียงพยัญชนะจากลิ้นปิดกล่องเสียง (Epiglottal consonant">(Ary-)epiglottal)
กล่องเสียง (Laryngeal) เสียงจากเส้นเสียง (Glottal)

Refer to:wikipedia.org: ตำแหน่งเกิดเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น